วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ลักษณะแตกต่างกันระหว่างลัทธิทั้ง ๖ และพุทธปรัชญา


    
พุทธปรัชญา : โลกทัศน์เกี่ยวกับโลกและชีวิตของพระพุทธศาสนา
 “พุทธปรัชญา” ได้แก่ หลักคำสอนเกี่ยวกับความจริง (สัจธรรม) และหลักปฏิบัติ (จริยธรรม) บางประการของพระพุทธศาสนาที่นำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลตามวิธีการของปรัชญา จากนิยามความหมายนี้ทำให้มองเห็นขอบเขตของพุทธปรัชญาว่าจำกัดอยู่ในส่วนที่เป็นศาสนธรรมของพุทธศาสนาเท่านั้น จะไม่รวมไปถึงองค์ประกอบอื่น ๆ เว้นเสียแต่ว่าองค์ประกอบเหล่านี้ จะเกี่ยวโยงกับศาสนธรรม จึงจะศึกษาวิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลเชิงปรัชญาด้วยเท่านั้น
 ลักษณะของพุทธปรัชญา  
            หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ได้ทรงแสดงหลักธรรมให้เห็นถึงความเป็นศาสนาที่สมบูรณ์ด้วยเหตุผล หลักจริยธรรมที่สามารถปฏิบัติได้จริง โดยทรงวางหลักง่าย ๆ ของการดำเนินชีวิตเอาไว้ ซึ่งพอจะประมวลลักษณะเด่น ๆ ของพุทธปรัชญาได้ดังนี้
- หลีกเลี่ยงที่จะโต้แย้งทางปรัชญา เช่นปัญหาทางอภิปรัชญาที่เรียกว่า อัพยากตปัญหา เป็นต้น  มีจุดเริ่มต้นแบบทุนิยม (ทุกข์กับความดับทุกข์เท่านั้น)
- และจบลงที่สุนิยม มีลักษณะเป็นสัจจนิยมฯ กรรม คือ การกระทำด้วยตนเอง
- เป็นแบบปฏิบัตินิยม คือ  อริยสัจ ๔ มรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา  ปฏิจจสมุปบาท (กฎสากลในธรรมชาติ) เป็นต้น

พุทธปรัชญาปฏิเสธแนวคิดของปรัชญาอินเดียระบบเก่า
                      พุทธศาสนาให้ใช้หลักกาลามสูตร ปฏิเสธการสร้างโลกของพระพรหม มอว่าสรรพสิ่งเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท ไม่เห็นด้วยกับการอาบน้ำล้างบาปและยัญพลีกรรม ไม่ยอมรับระบบวรรณะคนจะดีชั่วเพราะกรรม มิใช่ชาติตระกูล ไม่ยอมรับทางสุดโด่งทั้งสองส่วน ทรงแสดงทางสายกลาง หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนาที่โดดเด่น เช่น
- ไตรลักษณ์ ทรงแสดงว่า สรรพสิ่ง ย่อมมีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตามหลักแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์และมิใช่ตัวตนเสมอกัน ไม่มียกเว้น
 - อริยสัจ ๔ ทรงแสดงว่าปัญหาทุกข์ของชีวิตทุกอย่างเกิดจากสาเหตุคือความอยาก (ตัณหา) ด้วยประการต่าง ๆ แล้วทรงแสดงว่า ความดับสนิทแห่งความทุกข์ทั้งมวล (นิโรธ) ต้องปฏิบัติตามแนวทางแห่งมรรคมีองค์ ๘ ประการ
 - ปฏิจจสมุปบาท หรือทฤษฎีสาเหตุสัมพันธ์ ว่า การเกิดกับดับของสิ่งต่าง ๆ เป็นไปตามหลักปัจจยาการคือเหตุปัจจัยอาศัยกันเกิดขึ้นแบบลูกโซ่ ในลักษณะเป็นวงจรหาเบื้องต้นและเบื้องปลายหรือที่สุดไม่พบ ผลที่เกิดจากสาเหตุอันหนึ่ง ย่อมเป็นสาเหตุให้เกิดสิ่งอื่นอีกต่อไป เรื่อยไป ไม่มีสิ้นสุด
 - กฎแห่งกรรม ทรงแสดงว่ากรรมคือการกระทำของมนุษย์มีแรงผลักดันมาจากกิเลสเป็นเหตุแล้วให้เกิดผล (วิบาก) ของการกระทำนั้น แล้วผลก็จะกลายเป็นเหตุให้ทำกรรมต่อไปอีก จนกว่าจะตัดกิเลสอันเป็นเหตุแห่งการทำกรรมได้ วงจรแห่งกฎแห่งกรรมก็จะสิ้นสุดลง เข้าสู่ความสิ้นทุกข์ในวัฏฏสงสาร คือ พระนิพพาน หรือ เข้าสู่อรหันตภูมิ การกระทำจึงจะเป็นแต่เพียงกิริยาไม่มีผล (วิบาก) ที่เป็นทุกข์อีกต่อไป
 - อนัตตา จากการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันเกิดขึ้นตามหลักแห่งปัจจยาการ จึงไม่มีอะไรเป็นตัวตนที่แท้จริงที่จะยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นตัวเราของเรา เป็นตัวเขาของเขา ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่ตนปรารถนาได้ จึงไร้ตัวตน ไม่มีอาตมัน และวิญญาณอมตะดังที่ลัทธิเทวนิยมทั่วไปเชื่อถือกันอยู่
                                                    

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

อภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา

                                                                 
                                                        อภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา



                                                                                      ความจริงในพุทธปรัชญา
               ในภาคอภิปรัชญา ความจริงนี้ คือสิ่งที่มีอยู่จริง พุทธปรัชญามีทัศนะว่า  สิงที่มีอยู่จริง เรียกว่า ปรมัตถธรรม มี ๔ ประการ คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน      และ จิต เจตสิก และรูป 3 สิ่งนี้ มีลักษณะ ๓ ประการคือ เป็นอนิจจัง   ทุกขัง และเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน ส่งวนพระนิพพาน นั้น มีลักษณะเป็นนิจจัง ไม่เป็นทุกขัง และเป็นอนัตตา
-พุทธศาสนากับอภิปรัชญา
ข้อแตกต่างระหว่าง อภิปรัชญาตะวันตกกับอภิปรัชญาเชิงพุทธปรัชญา
อภิปรัชญาตะวันตกโดยมากมักจะศึกษาปัญหาปฐมเหตุของโลกและจักวาล และโลกและจักรวาลมีพัฒนาการมาจากปฐมเหตุนั้นอย่างไร ปฐมเหตุหรือปฐมธาตุนั้นเรียกว่าสิ่งที่แท้จริง หรือสิ่งที่มีอยู่จริง (reality) หรือ เรียกง่ายๆว่า ความจริงทางอภิปรัชญา  ซึ่งในทางตะวันตกก็ถกเถียงกันและได้คำตอบที่ไม่ลงรอยกัน หลักๆ อยู่ ๒ ฝ่ายคือฝ่ายที่ยืนยันว่า จิต คือสิ่งที่มีอยู่จริง(จิตนิยม)  และอีกฝ่ายยืนยันว่า สสาร (สสารนิยม)  และบางฝ่ายก็ยืนยันว่าทั้งจิตและสสาร (ธรรมชาตินิยม)
ส่วนพุทธปรัชญา  หากมองในแง่ที่ว่า อะไรคือปฐมธาตุของโลกและจักรวาลเช่นนี้ ทางพุทธปรัชญาจะไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาแบบนี้ เพราะมันไม่มีประโยชน์ในแง่ของการสิ้นทุกข์ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของพุทธปรัชญา   แต่พุทธปรัชญาก็มีทัศนะเกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่จริง  คือ สิ่งที่มีอยู่จริงคืออะไร และมีอยู่อย่างไร ซึ่งนั่นก็คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ที่มีอยู่จริงในทัศนะพุทธปรัชญา สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ปฐมเหตุของโลกและจักรวาล แต่มันเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ไม่มีผู้สร้าง สิ่งทั้งหลายนี้รวมกันเข้าแล้วปรากฏเป็นสิ่งทั้งหลาย เมื่อรู้ธรรมชาติของสิ่งเหล่านี้แล้ว จะได้วางท่าทีและปฏิบัติให้สอดคล้องกับธรรมชาติโดยมีจุดหมายคือการพ้นทุกข์ หลักการของพระพุทธเจ้าในการจะถกปัญหาทางอภิปรัชญาหรือไม่นั้น มาจากหลักที่พระองค์ยึดถือ คือว่า เรื่องนั้น ต้องจริง มีประโยชน์ และเหมาะสมแก่เวลาและสภาพแวดล้อม (ดูอภัยราชกุมารสูตร)  ในจูฬมาลุงโกยวาทสูตร ได้พูดถึงหลักการที่สอนและไม่สอน ดังนี้  ไม่สอนเรื่องโลกเทียง หรือไม่เที่ยง มีที่สุดและไม่มีที่สุด  เรื่องอัตตา เรื่องตายแล้วเกิดหรือสูญ ปัญหาเหล่านี้ เรียกว่า อพยากตปัญหา คือเรื่องที่ไม่ทรงตอบ และไม่สอน เพราะ ไม่มีประโยชน์ ไม่เป็ฯไปเพื่อสิ้นทุกข์ และไม่เป็ฯไปเพื่อทำลายความโลภ โกรธ หลง ให้สิ้นไปได้

                ดูกรณีเรื่อง ปัญหาที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบ ว่ามีอะไรบ้าง นั่นคือปัญหาทางอภิปรัชญาในแง่ตะวันตก และพระองค์ไม่ทรงตอบนั้น เพราะเหตุใด
**จิต เจตสิก รูป นิพพาน มีความหมายว่าอย่างไร เกี่ยวข้องกันอย่างไร
๏ ชีวิตในพุทธปรัชญา
-ความหมายและกำเนิดชีวิต (ชีวิตคืออะไร)
             ดูหลักคำสอน เรื่องขันธ์ ๕   การเกิดของมนุษย์
  ชีวิตมีลักษณะอย่างไร    ดูหลักธรรมเรื่องไตรลักษณ์ ประโยชน์ของการศึกษาเรื่องไตรลักษณ์
ชีวิตเป็นไปอย่างไร ดูหลักธรรมเรื่อง  วิญญาณ ๖   จิตรับรู้โลก ๑๗ ขณะ ปฏิจจสมุปบาท   กรรม
-ธรรมชาติของชีวิต   ในที่นี่หมายถึง ธรรมชาติของมนุษย์ ล้วนมีความต้องการ พื้นฐาน ๔ ประการ คือ  ชีวิตุกามะ คืออยากมีชีวิตอยู่   อมริตุกามะ อยากไม่ตายหรือไม่อยากตาย  สุขกามะ คือ อยากมีความสุขไม่อยากมีทุกข์ และ ทุกขปฏิกกูละ คือ รังเกียจความทุกข์ หรือไม่ต้องการทุกข์
-ปรากฏการณ์ของชีวิต
            ปรากฏการณ์ของชีวิตมนุษย์ คือ สุข ทุกข์   สุข หมายถึงความสบายกาย-ใจ ทุกข์ หมายถึง คสวามไม่สบายกาย-ใจ  มีเหตุเกิดมาจากหลายอย่าง พุทธปรัชญา ตอบว่า เกิดจาก   โรคภัยไข้เจ็บ  ธรรมชาติแวดล้อม  การดูแลสุขภาพ   การกระทำของผู้อื่น    และผลกรรมของตน
 (ดู สังยุตตนิกาย  สฬายตนวรรค 18/427/285)
-ชีวิตที่ดี  ชีวิตกับความตาย  
                ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่พอเพียงด้วยวัตถุและคุณธรรมจริยธรรม   ชีวิตที่ประเสริฐ คือชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา (ดู สังยุตตนิกาย สคาถวรรค  (เล่ม 15 หน้า 203 ข้อ 58)
 ท่าทีของพุทธปรัชญาต่อความตาย    ความตาย คือ การแยกจากกันของสิ่งที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนคือร่างกายนี้ อันได้แก่ ธาตุ ๖ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาส และวิญญาณธาตุ   การตายและการเกิดของมนุษย์ จึงเป็นเพียงกระบวนการแยกกัน และรวมกันของสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  (ดู สังยุตตนิกาน สคาถวรรค  (15/554/119)  .ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค  ได้กล่าวถึงความตายไว้ว่า  คนที่จวนจะตายร่างกายจะซูบซีดลง  อินทรีย์ทั้งหลายคือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา จะดับไปตามลำดับ ความสามารถ
-ธรรมชาติของชีวิต   ในที่นี่หมายถึง ธรรมชาติของมนุษย์ ล้วนมีความต้องการ พื้นฐาน ๔ ประการ คือ  ชีวิตุกามะ คืออยากมีชีวิตอยู่   อมริตุกามะ อยากไม่ตายหรือไม่อยากตาย  สุขกามะ คือ อยากมีความสุขไม่อยากมีทุกข์ และ ทุกขปฏิกกูละ คือ รังเกียจความทุกข์ หรือไม่ต้องการทุกข์
-ปรากฏการณ์ของชีวิต
            ปรากฏการณ์ของชีวิตมนุษย์ คือ สุข ทุกข์   สุข หมายถึงความสบายกาย-ใจ ทุกข์ หมายถึง คสวามไม่สบายกาย-ใจ  มีเหตุเกิดมาจากหลายอย่าง พุทธปรัชญา ตอบว่า เกิดจาก   โรคภัยไข้เจ็บ  ธรรมชาติแวดล้อม  การดูแลสุขภาพ   การกระทำของผู้อื่น    และผลกรรมของตน
 (ดู สังยุตตนิกาย  สฬายตนวรรค 18/427/285)
-ชีวิตที่ดี  ชีวิตกับความตาย  
                ชีวิตที่ดี คือชีวิตที่พอเพียงด้วยวัตถุและคุณธรรมจริยธรรม   ชีวิตที่ประเสริฐ คือชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา (ดู สังยุตตนิกาย สคาถวรรค  (เล่ม 15 หน้า 203 ข้อ 58)
 ท่าทีของพุทธปรัชญาต่อความตาย    ความตาย คือ การแยกจากกันของสิ่งที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนคือร่างกายนี้ อันได้แก่ ธาตุ ๖ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาส และวิญญาณธาตุ   การตายและการเกิดของมนุษย์ จึงเป็นเพียงกระบวนการแยกกัน และรวมกันของสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ  (ดู สังยุตตนิกาน สคาถวรรค  (15/554/119)  .ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค  ได้กล่าวถึงความตายไว้ว่า  คนที่จวนจะตายร่างกายจะซูบซีดลง  อินทรีย์ทั้งหลายคือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา จะดับไปตามลำดับ ความสามารถด้านต่างๆจะลดน้อยลงเหลือแค่พอรู้ว่ายังมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานเท่านั้น วิญญาณจะนึกถึงครุกรรมคือกรรมหนักบ้าง กรรมที่ทำในช่วงใกล้ๆมานี้บ้าง กรรมที่ทำไว้ก่อนบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วกรรมที่นึกถึงได้นั้น ก็จะปรากฏขึ้น ต่อจากนั้น สังขารคือบุญ-บาป และตัณหาก็จะนำวิญญาณนั้น (จุติวิญาณ) ไปสู่ภพใหม่ (ปฏิสนธิวิญญาณ) ตามแต่กรรมที่ทำไว้จะพาไป   การตาย-เกิด นี้จะดำเนินต่อไป ตราบเท่าที่ปัจจัยต่างๆ คือ สังขาร คือ บุญ-บาป  และกิเลสคือตัณหา ยังดำมีอยู่ เมื่อพัฒนาชีวิตให้เกิดวิชชา กิเลสก็ดับ สังขารคือบุญ-บาปดับ การเกิด-ตายก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้    พระพุทธปรัชญา สอนให้วางท่าทีว่าไม่ให้กลัวตาย เพราะเป็นธรรมชาติ มีเกิดก็ต้องมีตาย  สอนให้ระลึกถึงความตายแล้วนำมาเตือนใจตนเองรีบทำความดี พัฒนาชีวิต ให้พ้นจากตายและเกิด จะได้หมดทุกข์อย่างสิ้นเชิง (นิพพาน)